วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กรมสรรพากรร่วมกับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการรับชำระภาษีผ่านบัตรเครดิต



กรมสรรพากร Revenue Department News เลขที่ข่าว ปชส. 1/2560 วันที่แถลงข่าว 28 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง กรมสรรพากรร่วมกับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการรับชำระภาษีผ่านบัตรเครดิต ............................................................................................................


Image result for สรรพากร


            กรมสรรพากรร่วมมือกับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการชำระภาษีผ่านช่องทาง mobile application - easy Bills    เป็นการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการบริการเชิงรุก เพิ่มประสิทธิภาพในการ ให้บริการผู้เสียภาษีให้ได้รับความสะดวกในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและช าระภาษีมากยิ่งขึ้น วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2559) นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต รองอธิบดีกรมสรรพากร ได้ร่วมลงนามใน บันทึกข้อตกลงให้บริการการรับช าระภาษีกรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทาง เว็บไซต์ของกรมสรรพากร กับนายปิยชาติ รัตน์ประสาทพร กรรมการบริหารบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จ ากัด โดยมีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าว ณ ห้องพระอุเทน 2 ชั้น 2 อาคารกรมสรรพากร ความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแบบเชิงรุก สร้างบริการที่ดี และสะดวกรวดเร็ว โดยเพิ่มช่องทาง การช าระภาษีผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งได้พัฒนาระบบช าระภาษีด้วยบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดของทุกธนาคาร ในประเทศไทยผ่าน mobile application - easyBills เป็นการเพิ่มจุดบริการรับช าระภาษีในการยื่นแบบฯ ผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีในการท าธุรกรรมทางการเงินด้วยบัตรเครดิต เพิ่มความสะดวกสบาย ปลอดภัย และเข้าถึงผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้ด าเนินการ ร่วมมือกับหน่วยรับช าระเงินภาษีหลายหน่วยงาน ทั้งธนาคาร ไปรษณีย์ และห้างสรรพสินค้า รวมจ านวน 31 หน่วยงานแล้ว และครั้งนี้บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จ ากัด เป็นหน่วยงานล าดับที่ 32 ที่ให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากร โดยมีความพร้อมและมีความน่าเชื่อถือในการเป็นหน่วยรับช าระภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และเพื่อเป็นการสนับสนุนและอ านวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการยื่นแบบและช าระภาษีทางอินเทอร์เน็ต ให้มีช่องทางการช าระภาษีมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนประเทศไทยให้ก้าวหน้า สามารถแข่งขันด้านการท า ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เข้าสู่ระดับสากลได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นความตั้งใจของกรมสรรพากรที่มุ่งมั่นมอบ บริการที่ดี เพื่อให้ผู้เสียภาษีได้รับความพึงพอใจมากที่สุด”



















































วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พาณิชย์’ เกาะกระแสธุรกิจดิจิทัลเฟื่องฟู เฟ้นหาสุดยอดร้านค้าออนไลน์ประดับวงการอี-คอมเมิร์ซไทย


พาณิชย์’ เกาะกระแสธุรกิจดิจิทัลเฟื่องฟู เฟ้นหาสุดยอดร้านค้าออนไลน์ประดับวงการอี-คอมเมิร์ซไทย
จัดประกวดเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซดีเด่น 3 สาขา พัฒนาสู่โลกการค้าบนอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ
สร้างความเชื่อมั่นผู้ซื้อ-ผู้ขาย ยกระดับธุรกิจสู่ธรรมาภิบาลออนไลน์



 กระทรวงพาณิชย์ เกาะกระแสธุรกิจดิจิตัลเฟื่องฟู เฟ้นหาสุดยอดร้านค้าออนไลน์ประดับวงการอี-คอมเมิร์ซไทย จัดประกวดเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซดีเด่น 3 สาขา พัฒนาสู่โลกการค้าบนอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ หวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักช็อปโลกไซเบอร์จาก "ชมออนไลน์-ช็อปออฟไลน์” เป็น "ชมและช็อปออนไลน์” ขยายช่องทางการตลาดให้กว้างมากขึ้น พร้อมสร้างความเชื่อมั่นผู้ซื้อและผู้ขายยกระดับธุรกิจสู่ธรรมาภิบาลออนไลน์
                      นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า "ปัจจุบันกระแสธุรกิจดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ ที่มีอัตราการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยดูจากสถิติธุรกิจอี-คอมเมิร์ซประเภท B2C ในปี 2559 ที่มีมูลค่าสูงถึง 729,292.32 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 จากปี 2558 แสดงให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น และสะท้อนถึงสังคมไทยได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างแท้จริงแล้ว”
                      "ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์มากขึ้น คือ ความสะดวกสบายของการจับจ่ายใช้สอย การส่งของที่รวดเร็ว และการซื้อสินค้าและบริการบนออนไลน์ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการซื้อสินค้าที่หน้าร้าน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการเข้ามาซื้อสินค้าและบริการบนออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจาก "ชมออนไลน์-ช็อปออฟไลน์” เป็น "ชมและช็อปออนไลน์” ซึ่งจะทำให้ภาพรวมธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของไทยมีความมั่นคง รวมทั้ง เป็นการขยายช่องทางการตลาดให้กว้างมากขึ้นด้วย”
                       "จากเหตุผลดังกล่าวฯ จึงนำมาสู่ "การประกวดเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ดีเด่น หรือ Best e-Commerce Website Award” โดยมีคณะกรรมการตัดสินรางวัลผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านอีคอมเมิร์ซจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กูเกิล เฟชบุ๊ก ไลน์ และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเฟ้นหาสุดยอดเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ใน 3 สาขา ได้แก่ 1) รางวัลสำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการบริหารจัดการ e-commerce ยอดเยี่ยม 2) รางวัลสำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการตลาดสร้างสรรค์ และ 3) รางวัลสำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งการประกวดนี้จะเป็นเครื่องการันตีให้ร้านค้าออนไลน์มีภาพลักษณ์และคุณภาพมาตรฐานธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดี ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีใช้เป็นแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจของตนเอง รวมถึง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขาย และเป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับสู่ธรรมาธิบาลธุรกิจออนไลน์ในอนาคต”
                      "ผู้ได้รับรางวัลเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ดีเด่น (Best e-Commerce Website Award) ทั้ง 3 ประเภท จะได้รับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และได้รับการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอีกด้วย” "จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซและผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมประกวดโครงการฯ ดังกล่าว โดยสามารถดูรายละเอียด และสมัครร่วมประกวดรางวัล Best e-Commerce Website Award 2017 ได้ที่ www.thaiecommerceday.com/awards หรือเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0 2547 5959 - 60 และ 09 4632 4823 อีเมล์ : dbdecommerce2017@gmail.com เฟชบุ๊ก : www.facebook.com/DBDeCommerce
         

*************************************************
ที่มา : กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์                                 ฉบับที่ 60 / วันที่ 8 พฤษภาคม 2560

บทที่ 10 กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ



จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ



       
   ปัจจุบันองค์กรณ์ต่างๆนิยมนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับหน้าที่ทางธุรกิจเกือบทั้งหมด เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบคู่เเข่ง ซึ่งข้อมูลต่างๆ ขององค์กรณ์ เป็นข้อมุลที่ต้องรักษาเป็นความลับ ครบถ้วน สมบรูณ์ มีความพร้อมใช้ ถูกต้องเเม่นยำ และเป็นส่วนตัว เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ให้รอดพ้นจากการโจมตีของภัยคุกคามชนิดต่างๆ จากภายนอกและภายในองค์กร
           วิธีการหนึ่งที่จำช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามประเภทดังกล่าวได้ คือ
"การสร้างจริยธรรม (Ethics)"
ในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กร
           
 จริยธรรม (Ethics)
  • หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกใช้เป็นตัวเเทนของหลักในการปฏิบัติของบุคคล


  • ความสัมพันธ์ของหลักทางศีลธรรม อันได้แก่ ความดีและความชั่ว ความถูกต้องและไม่ถูกต้อง หรือหน้าที่และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม   
  • เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของ "ปรัชญา" ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการปฎิบัติตนของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือหมู่คณะนั้นๆ
  • หลักการประพฤติปฏิบัตินั้นได้กระทำสืบเนื่องกันในเรื่องมาจากอดีตจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติในสังคมหรือหมู่คณะนั้นๆ บุคคลใดที่ประพฤิตนตามหลักจริยธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น จะถือว่าบุคคลนั้นประพฤติตนได้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคมที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่หากบุคคลใดมีพฤติกรรมที่ขัดกับหลักจริยธรรม จะถูกต่อต้านโดยบุคคลอื่นในสังคม                                                                   ดังนั้น "หลักจริยธรรม" จึงเป็น กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพ่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคนในสังคม หากบุคคลอยู่ในสังคมมีวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันย่อมมีหลักจริยธรรมที่ต่างกันออกไปบ้างไม่ว่าจะสังคม เชื้อชาติ ศาสนาใดก็ตาม ย่อมต้องการให้บุคคลยึดหลัก "จริยธรรมอันดี" ในการปฎิบัติตนละเว้นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง อันจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพื่อความสงบสุขของคนในสังคม

  • จริยธรรม เป็นหลักประพฤติปฎิบัติของบุคคลในสังคมใดๆ (ไม่บังคับใช้ แต่เกิดจากการปลุกฝัง สร้างจิตสำนึก เป็นเรื่องของการแสดงออกทางกาย วาจา)
             จริย - คือการเเสดงออกทางกาย วาจา ของมนุษย์
             ธรรม - คือธรรมชาติของมนุย์ที่มีกาย วาจา เป็นสื่อภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
    ศีลธรรม เป็นการประพฤติที่ดีที่ชอบ เป็นการประพฤติปฎิบัติในทางศาสนา
    จรรณยาบรรณ เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
            รุปได้ว่า จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) เป็นมาตรฐานที่องค์กรธุรกิจใช้เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติต่อลูกค้าตลอดจนหุ้นส่วนทางการค้า และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยความยุติธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ก็เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกด้านจริยธรรมขององค์กรนั่นเอง
           


    จริยธรรมทางธุรกิจสำคัญอย่างไร 
    ความเสียหายต่อองค์กรที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินธุรกิจโดยไม่มีจริยธรรมเป็นบทเรียนให้องค์กรหันมาให้ความสนใจในด้านนี้มากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า หากองค์กรดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม จะทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ดังนี้
    1.ได้ค่านิยมหรือมีค่าความนิยมเพิ่มมากขึ้น                                                                                              

    องค์กรที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ จะมีค่าความนิยมเพิ่มขึ้น การดำเนินธุรกิจก็จะง่ายขึ้น มีโอกาสได้รับแต่สิ่งที่ดีที่สุด ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรใดไม่มีจริยธรรมทางธุรกิจ หรือไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้มีชื่อเสียงในแง่ลบ การค้าขององค์กรจะทำได้ยากขึ้นส่งผลต่อรายได้เเละผลกำไรขององค์กรในที่สุด



    2.การดำเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกัน                                                                                        
    โดยหลักจริยธรรมที่องค์กรพึงมี เมื่อต้องดำเนินการร่วมกัน มีดังนี้
    • ดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม  
    • ดำเนินงานตามหลักจริยธรรมทั่วไป ทั้งการกระทำและวาจา
    • ปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และผู้บริโภคด้วยความเคารพนับถือ   
    • ทำงานด้วยความอุตสาหะ และความพยายามอย่างดีที่สุด  
    • รับผิดชอบต่อภาวะหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด    
    • ยอมรับความแตกต่าง                                                     
    • ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและหลักการ
    3.เพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ                                                                                                                           
    การมีจริยธรรมที่ดีทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจดีไปด้วย ยังส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย องค์กรที่ให้ความสำคัญต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน ย่อมสามารถรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงไว้ได้นาน
    4.ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดำเนินการทางกฎหมาย                                                                   
     องค์กรควรดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมอันดีงามไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยองค์กรสามารถจัดตั้งโครงการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ดังนี้ 
    •  กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฏหมายและจะต้องมีจริยธรรมอันดี   
    •   ทำความเข้าใจในจุดเเข็งและจุดอ่อนของวัฒนธรรมและความสามารถขององค์กร  
    •   วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อพิจารณาว่าอะไรคือแรงกดดันที่ธุรกิจต้องเผชิญ พิจารณาพฤติกรรมเสี่ยงด้านอาชญากรรม ความล่อแหลมต่อกฎหมาย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    5.หลีกเลี่ยงข่าวในเเง่ลบได้                                                                                                                      
    หากองค์กรมีชื่อเสียงในทางที่ดี จะช่วยให้มูลค่าหุ้นขององค์เพิ่มมากขึ้น  ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรมีชื่อเสียงในเเง่ลบก็จะส่งผลให้มูลค่าหุ้นลดต่ำลงทัน 
                                
    การเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจในองค์กร
              หลายองค์กรในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้
    1.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร
    เจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร คือ ผู้จัดการระดับอาวุโส ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางที่เกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติของธุรกิจ โดยทำหน้าที่บูรณาการจริยธรรมขององค์กร นโยบาย กิจกรรมการปฏิบัติตมกฎหมาย และหลักปฏิบัติของธุรกิจ ให้เข้ากับกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงานทุกระดับขององค์กร
    2.กำหนดมาตรฐานทางจริธรรม
    เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจขององค์กรดำเนินไปด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางอุตาหกรรม และไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
    3.กำหนดจรรณยาบรรณขององค์กร
    เป็นการประกาศประเด็นด้านจริยธรรมและระบุหลักการปฏิบัติที่สำคัญต่อองค์กรและการตัดสินใจในระดับต่างๆ ทำให้มั่นใจว่าพนักงานจะปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับด้านอุตสาหกรรม และทำงานด้วยวิธีการที่โปร่งใส ไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่องค์กร
    4.ให้มีการตรวจสอบทางสังคม
    เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรณ์สามารถดำเนินนโยบายทางสังคมที่ได้กำหนดในอดีตได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดพลาดในอนาคต
    5.กำหนดเงื่อนไขทางจริยธรรมไว้ในแบบประเมินพนักงาน
    เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายจริยธรรมทางธุรกิจ บางองค์กรอาจเพิ่มเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในแบบประเมินพนักงานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดจริยธรรมของพนักงาน

    จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความนิยมใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเเพร่หลาย ทำให้ผุ้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนตัวแบบออนไลน์ได้เป็นจำนวนมาก ความไว้วางใจในระบบสารสนเทศก็มีมากขึ้นทำให้มีความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย

    แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรม
    ประสิทธิภาพของเทคดนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขี้น ทำให้ประเด็นด้านจริยธรรมได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มดังกล่าวทำให้กฎหมายล้าสมัย สังคมเกิดความขัดแย้ง พลเมืองมีแรงจูงใจในการทำผิดศีลธรรมมากขึ้น โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีสำคัญที่เป้นสาเหตุหลักได้แก่
    • ขีดความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น   องค์กรส่วนใหญ่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจหลักขององค์กรมากขึ้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับระบบต้องพึ่งพาระบบมากขึ้น เสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว อีกทั้งคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูลลดลง
                
    • ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้อมูล  ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเก็บข้อรักษาข้อมูล และราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายตัวอย่างมากมายของฐานข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ความก้าวหน้าในการเก็บรักษาข้อมูลทำให้การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทำให้ได้ในราคาถูกมาก แต่กลับมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขี้น

    • ความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ข้อมูล  เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ ช่วยให้องค์กรสามารถปะติดปะต่อและรวบรวมขาวสารที่เก็บรักษาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอาจถูกนำไปใช้หาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้

    • ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต  สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลในปริมาณที่สูงมาก โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นมาก ทำให้การขโทยข้อมูลจากเครือข่ายอื่นและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้น



    ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมที่ขัดหลักจริยธรรม
    ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ทำให้หลายองค์กรมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเหมาะสม การรักษาความลับของลูกค้า ตลอดจนป้องกันทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น อีกทั้งยังพบพฤติกรรมหลายอย่างที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายกลุ่มกระทำอย่างกว้างขวาง โดยไม่คำนึงถึงหลักจริยธรรม เช่น

    • ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหลายล้านคนในโลก นิยมใช้เครือข่ายประเภท Peer-to-Peer ในการอัพโหลดและดาวน์โหลดเพลง ภาพยนต์ และซอฟต์แวร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นั่นคือการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
    • หลายองค์กรนิยมใช้วิธีการโฆษาสินค้าด้วยการส่งอีเมล์ในลักษณะ Spam Mail ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ได้รับอีเมล์ ถึงแม้ว่าการโฆษณาด้วยวิธีนี้จะมีต้นทุนน้อยมากก็ตาม
    • แฮกเกอร์เจาะเข้าไปในระบบฐานข้อมูลของสถาบันการเงิน เพื่อขโมยข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดกฎหมาย
    • นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลด E-Book ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียนได้จากอินเทอร์เน็ต

           จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมข้างต้น ล้วนหมิ่นเหม่และเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยพฤติกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นจากการขาดจิตสำนึกและขาดจริยธรรมของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเกิดความขัดแย้งระหว่างจริยธรรมและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร จึงทำให้ต้องมีการศึกษาถึงจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขาดจริยธรรม จะได้มีการตระหนักถึงความสำคัญในด้านนี้มากขึ้น

    จริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที
    ประเด็นด้านจริยธรรมสำหรับผู้ใช้ไอที  มีดังต่อไปนี้
    1.การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Piracy)
    คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยเเพร่ซอฟต์เเวร์ต่อที่สาธารณะชนการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแสวงหากำไรจากซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้

    2.การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
    เช่น การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆในเวลางาน เข้าเว็บไซต์ลามก อนาจาร ดาวน์โหลดภาพยนต์ เพลง โดยใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กร การสนทนากับเพื่อนด้วยโปรแกรมแชทต่างๆและการเล่นเกมในเวลาทำงาน พฤติกรรมดังกล่าวจัดเป็นทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ปริมาณงานลดน้อยลง องค์กรมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย


    3.การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม
    ผู้ใช้งานไอทีและผู้ใช้ทั่วไป มักมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ เนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่เเลกเปลี่ยนกัน บางครั้งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น นับว่าเป็นการเปิดเผยความลับขององค์กรให้บุคคลอื่นทราบอาจไปถึงมือคู่แข่งทางธุรกิจ และสร้างความเสียหายแก่องคืกรได้ในที่สุด

    บัญญัติ 10 ประการ ในการใช้คอมพิวเตอร์
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอันตรายต่อผู้อื่น
    2. ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนงานคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
    3. ต้องไม่สอกแนมไฟล์คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
    4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอรืในการลักขโมย
    5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพยานเท็จ
    6. ต้องไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธ์โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์
    7. ต้องไม่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้จ่ายค่าตอบเเทนอย่างเหมาะสม
    8. ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
    9. ต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาต่อสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองเขียนหรือกำลังออกแบบอยู่เสมอ
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่พิจรณาดีแล้วว่าเหมาะสมและเคารพต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเสมอ
                                               
      กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเรียก (กทสช) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ ได้แก่                

               1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) 
                            เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส  


              2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
                            เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิ
       

     3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) 
                            เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้                

    4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
                               เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ                

    5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
                               เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
                    

    6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
                              เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น





          






































    กรมสรรพากรร่วมกับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการรับชำระภาษีผ่านบัตรเครดิต

    กรมสรรพากร Revenue Department News เลขที่ข่าว ปชส. 1/2560 วันที่แถลงข่าว 28 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง กรมสรรพากรร่วมกับบริษัท ทูซีทูพี (ประ...