วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 2 ไอทีคืออะไร ?

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน



องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
2. เทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคม
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งตามขนาดได้ 3 ขนาดได้แก่
1. เทคโนโลยีสารสนเทศขนาดเล็ก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต GPS Smart Card บัตรเครดิต
2.เทคโนโลยีสารสนเทศขนาดกลาง ได้แก่ อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ตามสายผ่านดาวเทียม ไอพีทีวี กล้องวงจรปิด
3.เทคโนโลยีขนาดใหญ่ ได้แก่ ระบบเครือข่าย การประชุมทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์ในการอบรม  การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ คลื่นความถี่วิทยุ QR Code 














บทบาทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตของเรา
2. วิวัฒนาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเทอร์ 
3. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล แบ่งปันข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

บทที่ 1 เทคโนโลยีล้ำ ๆ รอบตัวเรา

เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน



โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)หรือที่เรียกว่าITได้ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization)เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร(Communication)และคอมพิวเตอร์(Computer)ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ(Information)ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลครอบคลุมทั่วโลกหรือWWW(WorldwideWeb)ที่เราเห็นได้จากการใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต(Internet)ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆ

ในทุกวันมีการใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ  เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail), การพูดคุย (Chat)หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น การทำธุรกิจการค้า(e-commerce)การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆเป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Magazine) รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้ 

ในปัจจุบันนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาจส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ ผลกระทบทางบวกนั้นได้แก่ ในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ในในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทันสมัยใหม่ ให้ติดต่อกันได้สะดวกรวดเร็ว และยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง แม้แต่ในภาคหน่วยงานราชการก็ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองได้นำยุทธศาสตร์ e-Government มาใช้ในการเก็บข้อมูลทะเบียนราษฎร์หกสิบหกล้านระเบียน, บันทึกทะเบียนเกิด ทะเบียนแต่งงาน ทะเบียนหย่า ทะเบียนปืน, บันทึก ตรวจสอบการย้ายเข้า-ออก การเปลี่ยนชื่อ-สกุล, อำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประชาชน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ใช้เทคโนโลยีในการบันทึกราคาสินค้าในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำ, ส่งข้อมูลราคาสินค้าจากจังหวัดเข้าสู่กรมฯ, คำนวณสถิติราคาสินค้าและดัชนีค่าครองชีพ, จัดทำฐานข้อมูลราคาสินค้าต่าง ๆ หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาก็ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลงทะเบียนวิชาเรียนและเก็บค่าหน่วยกิต, ตรวจข้อสอบและคิดระดับคะแนน, บันทึกข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา, บันทึกข้อมูลหนังสือ และ การยืมคืน, จัดทำบัญชี และ รายงานเกี่ยวกับการศึกษา ส่วนโรงพยาบาลได้นำมาใช้ในการบันทึกและค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วย, จัดทำฐานข้อมูลยาและเวชภัณฑ์, คิดเงินค่ายาและจัดทำบัญชีต่าง ๆ , จัดทำสถิติผู้ป่วยและพิมพ์รายงานส่งกระทรวง, ใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ในภาคธุรกิจก็นำมาใช้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารมีการใช้ระบบฝากถอนเงินทุกประเภท ระบบ ATM, ระบบตรวจสอบสินเชื่อ, OFFICE BANKING & HOME BANKING เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นสิ่งที่ยังคงเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ตราบใดที่เรายังต้องพึ่งเทคโนโลยีอยู่ แต่ผลกระทบต่อมนุษย์ที่จะเกิดแก่มนุษย์นั้นจะร้าย ดี มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ คิด ทำ และนำเทคโนโลยีสารสารเทศมาใช้นั่นเอง



ในยุคนี้คงจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าเทคโนโลยีไม่มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะทุกคนล้วนใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงการเข้านอน ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ชีวิตประจำวันมีแต่ความเร่งรีบต้องแข่งขันกับเวลา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้วยังช่วยย่นระยะเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สั้นลง




แต่อย่างไรก็ตาม การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันก็เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะในบางครั้งก็นำโทษมาให้แก่มนุษย์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในเรื่องของการถูกลวงไปข่มขืน โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการถูกล่อลวงไปข่มขืน ก็เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากการพูดคุยกันผ่านทางโปรแกรมการสนทนาออนไลน์(Chat) ที่เมื่อมีการพูดคุยกันก็มีการนัดมาเจอกันและเกิดเหตุการณ์การล่อลวงไปข่มขืน เพราะการพูดคุยผ่านการChat นี้เป็นการพูดคุยที่อิสรเสรี ผู้พูดสามารถที่จะพูดคุยอะไรออกไปก็ได้ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม และนอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนอเวปไซด์ที่เป็นเวปไซด์โป๊ หรือมีการนำเสนอสิ่งที่อนาจารลงในเวปไซด์ และทำให้เป็นการยั่วยุทางอารมณ์ของผู้เล่นจนนำมาสู่การกระทำอันผิดศีลธรรม และเกิดคดีความได้ และจากการที่สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อเสรีไม่มีองค์กรใด ๆ เข้ามาควบคุมดูและจึงทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่หวังดี เช่น กลุ่มก่อการร้าย หรือ กลุ่มคนที่ต้องการก่ออาชญากรรม โดยกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยอาจมีเวปไซด์เป็นกลุ่มของตนเอง หรือใช้การส่ง E-mail เป็นทอด ๆ ระหว่างกันและมีการแปลรหัสจากการส่ง E-mail โดยไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ได้ และในบางครั้งก็มีคนที่มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างดี คนเหล่านี้ก็นำความเก่งกาจของตนเองมาใช้ในทางที่ผิด เช่น การลักลอบขโมยข้อมูลในองค์กรต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ก่ออาชญากรรม เช่น ลักลอบค้นข้อมูลของบริษัทบัตรเครดิต หรือ ธนาคาร หรือข้อมูลบัชญีเงินฝากและATM เพื่อลักลอบนำเงินไปใช้ นอกจากนี้บางครั้งก็มีการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อปล่อยหรือสร้างข่าวที่มีความบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน เช่น ในบางครั้งกลุ่มก่อการร้าย ก็อาจใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างข่าวบิดเบือน เพื่อจูงใจประชาชนให้มาเข้าร่วมในขบวนการและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก่อการร้าย


การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทุกบ้านต้องมีไว้อำนวยความสะดวกก็ว่าได้ ด้วยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป 

ในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้สูงขึ้น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ใชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตลอดเวลา คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมทำงานที่ถูกต้อง คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบคนได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรมได้ คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกส่วน ในสถานศึกษา ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน ในงานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับ และจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์










สภาฯ จัดงานอบรม Orientation Course “CFO FOCUS ON FINANCIAL REPORTING”


เมื่อวันที่ 15-16 มีนาคม พ.ศ. 2560 สภาวิชาชีพบัญชี ร่วมกับ สำนักงาน กลต. จัดงานอบรม Orientation Course สำหรับ CFO ของบริษัท IPOs และCFO ของบริษัทจดทะเบียน จำนวน 68 คน ภายใต้หัวข้อ “CFO FOCUS ON FINANCIAL REPORTING” ณ ห้อง Grand Ballroom III โรงแรม Grand Hyatt Erawan Bangkok
       ภายในงานได้รับเกียรติกล่าวปฐกถาพิเศษจากคุณรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. ต่อด้วยการบรรยายพิเศษในหัวข้อ HOW TO AVOID COMMON PITFALLS IN FINANCIAL REPORTING จากคุณประสัณห์ เชื้อพานิช นายกสภาวิชาชีพบัญชี

       ร่วมด้วยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่หมุนเวียนกันมาให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีความซับซ้อนในทางปฏิบัติ และผลกระทบที่มีต่อรายงานทางการเงิน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยวิเคราะห์กรณีศึกษาและแลกเปลี่ยน ความเห็น มุมมองและประสบการณ์ ร่วมกับผู้เข้าอบรม อาทิ
  • คุณแน่งน้อย เจริญทวีทรัพย์ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการสอบบัญชี บรรยายในหัวข้อ FUNDAMENTAL CONCEPT OF FINANCIAL REPORTING และ WORKING THROUGH COMPLEX AREAS OF FINANCIAL REPORTING 
  • คุณสินสิริ ทังสมบัติ Partner, PricewaterhouseCoopers ABAS Ltd. และคุณพรพุฒิ สุริยะมงคล Senior Manager, PricewaterhouseCoopers (Thailand) Ltd. บรรยายในหัวข้อ FINANCIAL INSTRUMENT และ FAIR VALUE MEASUREMENT
  • คุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บรรยายหัวข้อ BUSINESS EXPANSION 
  • คุณธวัชชัย เกียรติกวานกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ – ตราสารทุนและโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงาน ก.ล.ต. บรรยายในหัวข้อ KEY ACCOUNTING ISSUES IDENTIFIED BY REGULATOR
  • รศ.ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ในหัวข้อ THE GLOBALIZATION OF IFRS : WHERE WE ARE AND WHERE WE WILL BE
สภาวิชาชีพบัญชีขอขอบพระคุณ CFO ทุกท่านที่เข้าร่วมการอบรม และหวังว่าการอบรมในครั้งนี้ จะสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของรายงานทางการเงินและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต่อรายงานทางการเงิน และมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ท่านสามารถนำเสนอข้อมูลทางการเงิน ที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน และทำให้รายงานทางการเงินมีคุณภาพ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของกิจการในสายตาผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ









ปรับโครงสร้างภาษี 2560


"ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560 ค่าลดหย่อนเพียบ เงินเดือน 26,000 ถึงเสียภาษี"


 โครงสร้างภาษีใหม่ปี 2560 ช่วยเสียภาษีน้อยลง หลัง ครม. ไฟเขียวเพิ่มค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บุตร หักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีก เงินเดือนไม่เกิน 26,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี

          เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในหลายรายการ ซึ่งจะทำให้คนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียภาษีน้อยลงในปีภาษี 2560 ดังนี้


ปรับปรุงค่าใช้จ่าย

          1. เพิ่มการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

          2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ ร้อยละ 40แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้

ปรับปรุงค่าลดหย่อน

          1. เพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
          2. เพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
          3. กรณีคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
          4. เพิ่มค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 3 คน) เป็นคนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวน
          5. ยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร จากเดิมให้หักลดหย่อนได้คนละ 2,000 บาท
          6. กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
          7. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ปรับใหม่เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่

          นอกจากนี้ยังได้ปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ โดยจากเดิมมีรายได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี 35% ปรับเป็นต้องมีรายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป ดังนี้


ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

          1. กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว 

            - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบเมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท ปรับเป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท 
          
            - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบเมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท ปรับเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท 

          2. กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน 

            - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบเมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท ปรับเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท 

            - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบเมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาท ปรับเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท 

          3. กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบเมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท ปรับเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท 

          4. กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบเมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท ปรับเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท 

 
          ทั้งนี้การปรับเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป (ยื่นแบบภาษีในปี 2561) ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งนี้ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเป็นธรรมมากขึ้น สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยต้องมีรายได้เดือนละ 26,000 บาทขึ้นไปจึงจะเริ่มเสียภาษี กรณีมีรายได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น และหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น 


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
   , กรมสรรพากร













กรมสรรพากรร่วมกับบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการรับชำระภาษีผ่านบัตรเครดิต

กรมสรรพากร Revenue Department News เลขที่ข่าว ปชส. 1/2560 วันที่แถลงข่าว 28 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง กรมสรรพากรร่วมกับบริษัท ทูซีทูพี (ประ...